top of page

อัพเดตกฎหมายใหม่ ความปลอดภัยในการทำงานนั่งร้านและค้ำยัน


อัพเดตกฎหมายใหม่ ความปลอดภัยในการทำงานนั่งร้านและค้ำยัน

กฎกระทรวง


กฎกระทรวงฯมีสาระสำคัญให้นายจ้าง ต้องปฏิบัติตามกฎของกระทรวงเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดอันตราย หรือความเสี่ยงกับการทำงานบนนั่งร้านหรือค้ำยัน มีสาระสำคัญดังนี้


ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมชุด PPE

1.ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมชุด PPE

นายจ้างต้องจัดให้มีและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงานกับนั่งร้านหรือคำยัน และลักษณะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตลอดระยะเวลำที่ลูกจ้างทำงาน



อบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

2.อบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อนความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้านหรือค้ำยัน รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบะติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้



กำหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ที่มีการติดตั้ง

3.กำหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ที่มีการติดตั้ง

นายจ้างต้องติดหรือตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายป้ายบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่นห้ามเข้า เขตอันตราย ระวังวัสดุตกหล่น ให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือข้อความอื่นที่เข้าใจง่ายและเห็นได้อย่างชัดเจน



ติดหรือตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตราย

4.ติดหรือตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตราย

นายจ้างต้องติดหรือตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายป้ายบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น ห้ามเข้าเขตอันตราย ระวังวัสดุตกหล่น ให้สวมใส่ปุอกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือข้อความอื่นที่เข้าใจง่ายและเห็นได้อย่างชัดเจน



ปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

5.ปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

ในการสร้าง ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ตรวจสอบ ใช้ เคลื่อนย้าย และรื้อถอนนั่งร้าน นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานดังกล่าว นายจ้างต้องดำเนินการให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือกำรใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้



โดยกฎกระทรวงฉบับนี้มีเนื้อหาและรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก หากผู้ใดสนใจที่จะอ่านสามารถตามไปอ่านได้ตามนี้ลิงค์นี้เลยนะครับ >LINK<

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
bottom of page